วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557


รัฐประหาร เป็นการใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างฉับพลันและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปกติเกิดจากสถาบันของรัฐที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กเพื่อโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วเปลี่ยนเป็นองค์การปกครองใหม่ ไม่ว่าเป็นพลเรือนหรือทหาร รัฐประหารพิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อผู้ยึดอำนาจสถาปนาภาวะครอบงำ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องเกิดความรุนแรงหรือเสียเลือดเนื้อ

       การรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ที่ผ่านมา แรกเริ่มดูเหมือนจะช่วยลดเหตุปะทะหรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในขณะนั้น แต่ผลลัพธ์จากรัฐประหารครั้งนั้นก็นำมาสู่ความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างอย่างมากในสังคมไทย และกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญในการชุมนุมทางการเมืองที่นำไปสู่เหตุการณ์เผาเมืองและก่อเหตุการณ์รุนแรงของคนเสื้อแดงในช่วงที่ผ่านมา
              ด้วยการที่การรัฐประหารของไทยจะมักเกิดขึ้นมาโดยตลอดหรือจะเรียกได้ว่าอยู่คู่กับการเมืองไทยคงไม่ผิดนัก และมักมีคำถามถึงการรัฐประหารในทุกรอบเวลาของการผลัดเปลี่ยนตำแหน่งทางราชการโดยเฉพาะในยุคของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบันที่รับตำแหน่งต่อจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. ที่มาพร้อมกับบุคลิกแข็งกร้าว คำถามร้อนอย่างการรัฐประหารจึงถูกจุดขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อวันเข้ารับตำแหน่งพล.อ.ประยุทธ์ก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นและใช้กลไกประชาธิปไตยเป็นแนวทางแก้ปัญหา
       
       “เห็นว่าช่างคิดได้ ขอถามว่าใครอยากปฏิวัติ ประเทศไทยปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลกแล้ว และถือเป็นสุดยอดกว่าประเทศอื่นแล้ว แล้วจะไปหาระบบระบอบใดมาอีก นี่ไม่ใช่การแก้ปัญหา สิ่งที่เขาทำไปในคราวที่แล้ว ผมไม่อยากย้อนกลับไปพูด แต่เขาทำเพื่อหยุดปัญหาที่จะเกิดเท่านั้น และหลังจากนั้นก็กลับมาแก้ไขด้วยกลไกปกติ แล้วเราจะย้อนกลับไปทำไมอีก ท่านก็พูดกลับไปกลับมา วนไปวนมาก็ไม่จบ สถานการณ์ในวันนั้นกับวันนี้ต่างกัน ต้องแก้ปัญหากันให้ได้” (พล.อ.ประยุทธ์ 08/พ.ย.53)
       
       ดูเหมือนกระแสข่าวการรัฐประหารจะจบลงแต่จากเวทีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการณ์วิกฤตการณ์การเมืองกับทางรอดประเทศไทย โดยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ที่กล่าวเปิดการสัมมนาว่า
       
       “สถาบันพระมหากษัตริย์ คือสถาบันในการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง หรือแก้ไขวิกฤตมาโดยตลอด เมื่อใดบ้านเมืองมีปัญหา หากพระองค์ท่านเสด็จลงมา ปัญหาก็จะจบง่าย ด้วยเหตุนี้ พรรคเพื่อไทยจึงได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทานพระบารมี
       
       แต่เชื่อผมเถอะคิดว่าสิ่งมหัศจรรย์ในประเทศไทยมีอยู่เสมอ เกิดขึ้นเสมอ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ถ้าสถาบันยังไม่เคลื่อนไหว สถาบันที่ทำมาโดยตลอด คือทหาร ที่ผ่านมามีการยึดอำนาจหลายครั้ง แต่เขาก็มาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ”
       
       และกระแสการรัฐประหารถูกจับตามองมากขั้นเนื่องจากในการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จากรายงานข่าวอ้างว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า
       
       "ไม่มีอะไรกดดันผม การที่ผมมีความเห็นเช่นนี้ก็ไม่ได้เป็นเพราะพรรคร่วมรัฐบาล ถ้าจะยุบสภาก็ต้องยุบ ยุบสภาดีกว่าการปฏิวัติ เพราะกลุ่มคนเสื้อเหลืองที่จะมาชุมนุมในวันที่ 11 ธันวาคม จะมาชุมนุมกันเพื่ออะไร ตอนนั้นสภาก็ปิดแล้ว แต่เขาตั้งเป้าว่าจะชุมนุมเพื่อยั่วยุให้ทหารออกมาควบคุมสถานการณ์ และนำไปสู่การปฏิวัติ แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนี้ทหารมีแนวคิดจะปฏิวัติ ดังนั้น ยุบสภาก็ดีกว่าการปฏิวัติ"
       
       ดังนั้น การรัฐประหารที่ดูเสมือนว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก แต่เมื่อจับกระแสกลับดูเหมือนว่าจากคำพูดข้างต้นมีบุคคลบางกลุ่มที่มุ่งหวังจุดกระแสการรัฐประหารขึ้นอีกครั้ง และยิ่งบ่อยครั้งและถี่ขึ้นโดยเฉพาะในขั้วของคนจากพรรคเพื่อไทย ด้วยเหตุนี้ สภาพทางการเมืองจึงอยู่ทาง 2 แพร่งระหว่าง การนำไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย กับอีกขั้วที่อยู่ในฝั่งตรงข้ามก็คือ การรัฐประหารที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นแต่มีกระแสที่ถูกกล่าวอ้างกันอย่างหนาหู
       
       ชิงความได้เปรียบเลือกตั้ง 
       
       “สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจในทางการเมืองก็คือ รัฐบาลยังคงกุมความได้เปรียบทั้งในแง่ของการสามารถผลักดันนโยบายต่างๆให้กับประชาชน หรือ การคุมกลไกรัฐทั้งตำรวจ ทหารและกระทรวงมหาดไทย ซึ่งส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งหน้าอย่างมาก”
       
       นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ระบุ พร้อมชี้ว่า จุดสำคัญต่อกระแสการทำรัฐประหารที่ค่อนข้างดังขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากขั้วของพรรคเพื่อไทยที่มี จตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย พยายามจุดกระแสมาโดยตลอดตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งรัฐบาลกับการโจมตีว่า มีการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร และความพยายามฉายภาพให้ชัดและซ้อนทับกันระหว่างรัฐบาลและทหารในเชิงของรัฐบาลที่หนุนหลังโดยรัฐบาลทหาร ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชูธงประชาธิปไตย ซึ่งผลสุดท้ายย่อมต้องการให้สังคมจดจำภาพของพรรคประชาธิปัตย์ในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง
       
       ทั้งนี้ เงื่อนสำคัญที่จะนำไปสู่การทำรัฐประหารตามที่ นพ.วรงค์ มองนั้น ยังคงอยู่ที่เงื่อนไขของความขัดแย้งของสังคมโดยเฉพาะในกลุ่มของมวลชนทั้ง 1.การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในกรณีของคดีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ 2.การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในกรณีของพิพาทพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร และ3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญที่อ่อนไหวต่อสังคม ที่อาจจะเป็นชนวนนำไปสู่ความวุ่นวายในสังคมได้นั่นเอง
       
       แต่สุดท้ายเขายังเชื่อว่า ด้วยเงื่อนไขด้านเวลาของรัฐบาลที่จะครบวาระในช่วงปี 2554 การที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งนั้นยังคงอยู่กับกฏสำคัญ ประการ คือ บรรยากาศทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และการเลือกตั้งที่จะบรรลุเป้าหมายและยุติความขัดแย้งของสังคมได้ ทว่าหากสภาพความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจจะเป็นชนวนสำคัญนำไปสู่การทำรัฐประหาร ก็ยังคงเชื่อว่าจะนำไปสู่การยุบสภา เพื่อปลดล๊อคเงื่อนไขในการทำการรัฐประหาร ตามที่ อภิสิทธิ์ ประกาศไว้ในการประชุมพรรค
       
       ขณะที่ การเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชนที่ถูกมองเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่การทำรัฐประหารไม่ว่าจะเป็นจากการประกาศของนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย หรือ อภิสิทธิ์จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ต่างก็มองว่าการชุมนุมพันธมิตรจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่การรัฐประหาร โดยเทียบเคียงกับการรัฐประหารเมืองวันที่ 19 ก.ย.49 ในกรณีของความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะของประชาชน
       
       “หากมองว่าการที่พันธมิตรมีความเหนียวแน่น ที่จะสามารถชุมนุมและกดดันรัฐบาล และจะกลายเป็นเงื่อนไขของการทำรัฐประหาร ก็บอกได้ว่าไม่มีความเป็นไปได้เลย เนื่องจากการชุมนุมของพันธมิตรมิได้ก่อความเสียหาย ต่อสังคม หรือใช้ความรุนแรงและสามารถควบคุมมวลชนได้เป็นอย่างดี การมองว่าพันธมิตรต้องการให้เกิดการรัฐประหารนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง”
       
       บรรจง นะแส กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ และหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวและมองว่า การชุมนุมทางการเมืองที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงหรือสร้างความวุ่นวายทางการเมือง จนถึงกับเป็นเงื่อนไขในการทำการรัฐประหารนั้น ไม่มีความเป็นไปได้ หากมองจากการชุมนุมของพันธมิตร และหากพิจารณาลึกลงไปการชุมนุมในกลุ่มของคนเสื้อแดงมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นชนวนนำไปสู่การรัฐประหารมากกว่าพัธมิตรมากนัก ทั้งในอดีตที่ชี้วัดถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมาทั้ง เหตุการเผาเมืองเดือน เม.ย52 หรือ เหตุการณ์เผาเมืองในช่วงเดือนพ.ค.53ที่ผ่านมา
       
       ดังนั้น เมื่อมองเป้าหมายสำคัญของกลุ่มคนเสื้อแดงกอย่างการนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาครองอำนาจอีกครั้งนั้น ถือว่าปัญหาที่รุมเร้าอยู่รอบตัวนั้นค่อนข้างมากทั้ง กลุ่มคนเสื้อแดงที่มีคดีความติดตัว การเคลื่อนไหวในการก่อความรุนแรง หรือ สำหรับตัว.พต.ท.ทักษิณที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีก่อการร้ายในเหตุการณ์เผาเมืองที่ผ่านมา และคดีความต่างๆที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม และคดีที่กำลังทยอยเข้าสู่การะบวนการหลายสิบคดี อาจทำให้มีการมองถึงช่วงสุญญากาศในการที่จะเข้าไกล่เกลี่ยกับผู้ที่มีอำนาจในขณะนั้นและใช้จุดแข็งในด้านทุนเพื่อลบล้างความผิดต่างๆ
       
       “ฝ่ายที่จำเป็นและต้องการรัฐประหารเพื่อสะสางปัญหาที่คั่งค้างมานานนั้นคงหนีไม่พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งการปล่อยข่าวการรัฐประหาร ก็ถือว่าเป็นจุดที่กลุ่มคนเสื้อแดงมุ่งหวังและใช้โจมตีรัฐบาลอยู่แต่ต้นแล้ว และหากเกิดขึ้นจริง ด้วยจุดแข็งด้านทุนก็อาจจะอาศัยช่วงสุญญากาศเข้าเจรจาหรือปลดล๊อกคดีความต่างๆนั่นเอง ”
       
       และหากมองไปยังการเลือกตั้งครั้งหน้า แม้ว่า ความได้เปรียบหรือจุดแข็งของพรรคเพื่อไทยที่มีพื้นที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานจนสามารถกลับมาชนะในการเลือกตั้งได้ก็ตาม แต่ปัญหาสำคัญก็คือ ตราบาปจาก กรณีการล้มสถาบัน ที่เกี่ยวข้องหลายกรณีทั้ง กลุ่มคนเสื้อแดงบางกลุ่มที่มีแนวคิดล้มล้างสถาบัน หรือข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดีที่ยากจะปฏิเสธได้ ก็อาจจะนำไปสู่การไม่เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย แม้ว่าจะได้เสียงข้างมากก็ตามแต่ด้วยเสียงที่ก้ำกึ่งพรรคขนาดเล็กและขนาดกลางอาจจับมือกับพรรคใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งก็เป็นได้
       
  “คุณอภิสิทธิ์ ถือว่า เดินหมากทางการเมืองเหนือชั้นมาก และประสบการณ์ทางการเมืองที่โชกโชนทำให้สามารถประเมินกระแสสังคมในการดดันกลุ่มที่ขัดแย้งกลับพรรคหรือรัฐบาลได้แทบทั้งหมดไม่ว่าจะในขั้วพรรคร่วม พันธมิตร หรือฝ่ายตรงข้าม โดยที่คุณอภิสิทธิ์แทบจะไม่ต้องชนเองโดยตรงเลย”
       
       นอกจากนี้ ในมุมของรัฐบาล ท่ามกลางกระแสของการรัฐประหารที่ถูกจุดขึ้น โดยมีพันธมิตรเป็นตัวละครสำคัญ ก็จะถือว่าเป็นการวางหมากที่เหนือชั้น และให้สังคมกดดันการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรที่โดยเนื้อหานั้นมิใช่การล้มรัฐบาล หากแต่เป็นการช่วยป้องกันมิให้สูญเสียดินแดนก็จะถูกนำมาเชื่อมโยงในฐานะปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การรัฐบาลประหารทำให้การเคลื่อนไหวในอนาคตถูกจับตามองจากสังคมากขึ้น
       
       โดยรูปแบบการใช้กระแสสังคมนี้ยังถูกนำมาใช้กับ พรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ถูกการวางหมากให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและลงเลือกตั้งซ่อมซึ่งถือเป็นมาตรฐานของส.สพรรคประชาธิปัตย์ที่พรรคร่วมรัฐบาลจะต้องทำตาม รวมถึงการตอกย้ำกฏเหล็ก 9 ข้อ ที่แม้ว่าอภิสิทธิ์จะไม่ปะทะกับพรรคร่วมรัฐบาลโดยตรง แต่กระแสสังคมจะเป็นตัวกดดันแม้ว่าพรรคร่วมจะไม่เต็มใจนักดังตัวอย่างของ เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม จากพรรคชาติไทยพัฒนา และบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย ที่แม้ว่าโดยฏกหมายจะไม่จำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีแต่ก็จะรับแรงกดดันจากสังคมโดยตรง
       

 อย่างไรก็ตาม กระแสของการรัฐประหารยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องโดยที่จตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ระบุว่า แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯได้ร่วมมือกับทหารบางกลุ่มในการใช้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย - กัมพูชา ฉบับวันที่ 14 มิ.ย. 2543 (MOU 43) ปลุกกระแสชาตินิยม และเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาชุมนุมคัดค้านสร้างความวุ่นวายในประเทศและรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ เพื่อเปิดช่องให้ทหารออกมายึดอำนาจ ซึ่งนี่เป็นกระแสการรัฐประหารที่เกิดขึ้นหลังจากพล.อ.ประยุทธ์ เข้ารับตำแหน่งในช่วงแรก จนร้อนถึงพล.อ.ประยุทธ์ ต้องออกโรงยืนยันอีกครั้งถึงแนวคิดดังกล่าวว่าไม่มีความเป็นไปได้ดัง ความว่า

  

ความจริงปัญหาเรื่องท่าทีต่อรัฐประหารนี้เป็นเรื่องที่เถียงกันมากในยุโรปในยุคต้นศตวรรษที่๒๐ เพราะเป็นยุคที่เกิดรัฐและระบอบการปกครองใหม่ ๆ ขึ้นแทนที่ระบอบเก่ามากมาย เป็นปัญหาข้อถกเถียงเรื่องความชอบธรรมตามข้อเท็จจริง กับความชอบธรรมตามกฎหมาย (Legality)นั่นเอง ปัญหาข้อถกเถียงเรื่องนี้ เป็นเรื่องชวนปวดหัวสำหรับนักวิชาการด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์มานานแล้วและยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อต้นศตวรรษที่ ๒๐ นักปราชญ์แห่งออสเตรียอย่าง  เป็นผู้หยิบยกปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างความชอบธรรมตามข้อเท็จจริงกับความชอบธรรมทางกฎหมายขึ้นในการตอบปัญหาว่า “ถ้ากฎหมายไม่อาจบังคับได้ในทางข้อเท็จจริง กฎหมายจะยังมีผลเป็นกฎหมายต่อไปอีกหรือไม่?หรือถ้ามีการปฏิบัติตามเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อเท็จจริง ทั้งๆที่ขัดต่อกฎหมายเกณฑ์ตามข้อเท็จจริงจะกลายเป็นกฎหมายไปหรือไม่?” แล้วเขาก็ตอบว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่อง “อำนาจบังคับทางกฎหมายของข้อเท็จจริง” หรือ “Constitutive Force of the Factual” หรือกฎหมายไม่อาจฝืนข้อเท็จจริงได้นั่นเอง
ตามความเห็นนี้ ถึงที่สุดแล้วระบบกฎหมายก็จำต้องยอมรับอำนาจบังคับของความสัมพันธ์เชิงเหตุผลที่ดำรงอยู่ในทางข้อเท็จจริงในขณะใดขณะหนึ่งเป็นสำคัญทั้งนี้เพราะในบางสถานการณ์ ความแน่นอน หรือความสงบที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันเป็นสิ่งมีค่ายิ่งกว่า หรือเป็นความถูกต้องยิ่งกว่าความไม่แน่นอนหรือความไม่สงบที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบสิ้นหากยอมรับการโต้แย้งที่หาข้อยุติได้ยาก เพียงเพื่อความถูกต้องที่อาจมีมาหรืออาจไม่มีมาในอนาคต
เหตุที่เรายอมรับหลักเรื่อง“การขาดอายุความทางอาญา” ในระบบกฎหมาย เพราะเมื่อกฎหมายไม่อาจบังคับได้เป็นระยะเวลานานๆ ก็ทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดความชอบธรรมไปในทางข้อเท็จจริง แม้ความผิดที่เกิดขึ้นไม่มีทางจะกลายเป็นความไม่ผิดได้เลยแต่ระบบกฎหมายจำต้องยอมรับว่าเมื่อระยะเวลาหนึ่งผ่านไปนานพอสมควรแล้ว ก็ไม่ควรเอาผิดผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดอีกต่อไปอีกประการหนึ่งก็เพื่อรักษาความแน่นอนในทางเป็นคุณแก่ผู้ต้องหา เพื่อป้องกันการปรักปรำของรัฐในยุคที่รัฐมีอำนาจมากและอ้างหลักฐานปรักปรำหลังจากการกระทำที่ถูกกล่าวหาผ่านไปนาน ๆ จนผู้ถูกกล่าวหาซึ่งมักเป็นคนเล็กคนน้อยมีโอกาสหาหลักฐานย้อนหลังมาต่อสู้รัฐได้ยาก
หลักในเรื่องการคุ้มครอง “การครอบครอง” ในทางแพ่งก็เช่นเดียวกันกฎหมายจะคุ้มครองผู้ครอบครองทรัพย์อยู่เป็นหลักแม้ว่าการครอบครองนั้นจะได้มาโดยมิชอบ เช่นแย่งหรือลักเขามา หากยังยื้อแย่งกันอยู่เจ้าทรัพย์มีสิทธิใช้กำลังป้องกันทรัพย์ของตน แต่หากแย่งหรือลักมาสำเร็จแล้วผู้แย่งหรือผู้ลักก็มีสิทธิครอบครอง และตราบใดที่เขาครอบครองอยู่ผู้อื่นรวมทั้งเจ้าทรัพย์เดิมไม่มีสิทธิยื้อแย่งเอาด้วยกำลังอีกต่อไปจะเรียกคืนทรัพย์ได้ก็ต้องไปเรียกร้องให้อำนาจสาธารณะตั้งคนกลางมาชี้ขาดว่าทรัพย์นั้นเป็นของใครหรือใครมีสิทธิดีกว่ากัน
ทั้งหมดนี้ระบบกฎหมายสรุปประสบการณ์จากพัฒนาการนับพันปีว่าข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นธรรมในบางเรื่องเป็นสิ่งที่เราต้อง “จำยอม”ให้ดำรงอยู่เพื่อคุ้มครองความสงบ หรือป้องกันการสูญเสียที่ไม่คุ้มกัน
เรื่องรัฐประหารก็เช่นเดียวกันไม่มีนักกฎหมายคนไหนที่จะบอกว่าการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และทุกคนต่างก็รู้และยอมรับโดยไม่ต้องสาธยายให้มากความว่า รัฐประหารนั้นเป็นสิ่งที่ควรต่อต้านแต่การต่อต้านนั้นไม่ใช่เรื่องที่ชี้ขาดกันด้วยกฎหมายเพราะทั้งการยึดอำนาจและการต่อต้านการยึดอำนาจล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงซึ่งอาศัยการชี้ขาดกันด้วยอำนาจการเมือง
ถ้าต่อต้านสำเร็จอำนาจการเมืองก่อนการรัฐประหารก็ตั้งอยู่ได้ การรัฐประหารก็จะกลายเป็นกบฏและในทางกลับกันถ้าต่อต้านไม่สำเร็จผู้ต่อต้านก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบเสียเอง โดยนัยนี้ การต่อต้านที่จะเกิดผลก็ต้องต่อต้านเสียตั้งแต่ยังรัฐประหารไม่สำเร็จเด็ดขาดเช่นเดียวกับการใช้อำนาจป้องกันการกระทำผิด หากผู้กระทำทำผิดสำเร็จแล้วอำนาจป้องกันก็ระงับไปด้วย เหลือแต่เพียงสิทธิที่จะเรียกร้องให้อำนาจสาธารณะจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษเท่านั้น
แต่ในกรณีที่เขาทำรัฐประหารสำเร็จก็แปลว่าฝ่ายรัฐประหารได้ยึดอำนาจสาธารณะไว้ในมือ และย่อมจะไม่มีอำนาจสาธารณะใดมาบังคับการตามข้อเรียกร้องนี้เข้าทำนองเป็นกฎหมายที่บังคับไม่ได้ทางข้อเท็จจริง อันจะนำไปสู่การที่สังคมจำต้องยอมรับอำนาจบังคับตามข้อเท็จจริงในที่สุดนั่นเอง
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะระบบกฎหมายทุกระบบยอมรับว่าหากยอมให้ใช้อำนาจป้องกันอยู่ร่ำไป ในที่สุดก็จะมีคนอ้างอำนาจป้องกันโดยเกินกว่าเหตุใช้กำลังกันไม่มีที่สิ้นสุด สังคมก็จะอยู่ในสภาวะที่โทมัส ฮอบบส์กล่าวไว้ว่า“ทุกคนต่างต้องระแวดระวัง เกลียด และกลัวกันเอง” “ต่างตกอยู่ในสภาพที่ต้องอยู่ในภาวะที่ต่างทำสงครามระหว่างกันเองตลอดเวลา”อันเป็นภาวะที่เราพยายามหลีกเลี่ยงและจัดตั้งกันเป็นรัฐ เพื่อให้เกิดความสงบ เกิดกฏเกณฑ์ร่วมกันและเพื่อให้เสรีภาพเป็นไปได้นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ การต่อต้านการรัฐประหารที่สำเร็จไปแล้วจึงต้องหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะนำไปสู่การปะทะกันด้วยกำลังหรือต้องพยายามจำกัดผลไม่ให้เกิดรุนแรงกันขึ้นโดยไม่จำเป็น สำหรับบางคนนั้นสันติภาพอาจสำคัญมากกว่าการเข้าสู่อำนาจลองคิดดูสิว่า ถ้าอองซาน ซูจี เรียกร้องให้ชาวพม่าทุกคนต่อต้านรัฐบาลพม่าเพราะรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่เป็นรัฐธรรมนูญของทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะเกิดการปะทะกันด้วยกำลัง ดังนี้โอกาสที่ประชาชนจะมีอำนาจแท้จริงในอนาคตจะมากขึ้นหรือจะน้อยลง?
แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า หากการต่อต้านรัฐประหารหรือการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารนั้นไม่ประสบผลสำเร็จและถูกปราบปรามด้วยกำลัง ใครจะรับผิดชอบต่อชีวิตของคนที่ศรัทธาเชื่อมั่นในสิ่งเขาเชื่อว่าถูกต้องและยอมอุทิศชีวิตเพื่อต่อสู้กับสิ่งนั้น? เขาเหล่านั้นต้องจากเราไปเพียงแค่เขาไม่รู้หรือรู้แต่ก็รับไม่ได้ว่า หากเลือกใช้วิธีอีกอย่างอาจต้องทนรอไปอีก และอาจต้องทนเหนื่อยยากจัดตั้งกันอย่างจริงจัง จนกว่าอำนาจตามข้อเท็จจริงจะเป็นของประชาชนและสิ่งที่ถูกต้องก็จะมาถึงได้ในวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอน
อันที่จริง ประวัติศาสตร์ก็สอนให้เรารู้อยู่เสมอมิใช่หรือว่าเมื่อถึงเวลาต้องเอาชีวิตเข้าแลกนั้น โดยมากก็จะมีแต่คนเล็กคนน้อยในสังคมเท่านั้นที่ยอมตายเพื่อรักษาสิ่งที่เขาเชื่อว่าถูกต้อง และแม้เขาจะได้มีชื่อเป็นวีรชนที่มีผู้ยกย่องอยู่เสมอ ก็มักเป็นไปอย่างนามธรรมเท่านั้น ในแง่นี้ผมเห็นว่า หากคณะนิติราษฎร์จะเสนอให้สร้างอนุสาวรีย์ให้คุณนวมทอง ไพรวัลย์ หรือตั้งมูลนิธิในชื่อนี้เพื่อต่อต้านการรัฐประหาร ผมก็เห็นว่าควรได้รับการสนับสนุนเต็มที่
๓. การล้มล้างผลพวงของรัฐประหาร?
การที่คณะนิติราษฎร์ออกความเห็นเกี่ยวกับรัฐประหารก็เป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ควรได้รับการเคารพ ไม่ว่าใครจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการรัฐประหารหลังจากผ่านมา ๕ ปี มิใช่เป็นการต้านรัฐประหาร และไม่ใช่ความชอบธรรมที่จะยกขึ้นอ้างได้ว่า ใครไม่เห็นด้วยกับคณะนิติราษฎร์จะเป็นผู้เห็นชอบกับการรัฐประหารหรือปกป้องสถาบันรัฐประหารไปเสียหมดอย่างที่อาจารย์เกษียรยกขึ้นกล่าวอ้าง
ในทำนองกลับกัน การออกความเห็นให้ตรากฎหมายเพิกถอนการรัฐประหารและผลพวงของการรัฐประหารก็ย่อมถูกวิจารณ์ได้ว่า ไม่ได้มีผลเป็นการต่อต้านรัฐประหารแต่อาจเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นในทางมิชอบ เพราะการรัฐประหารไม่อาจห้ามได้ด้วยกฎหมาย การรัฐประหารเป็นการแย่งอำนาจตามข้อเท็จจริงทางการเมือง ขนาดเขียนไว้ในกฎหมายและในรัฐธรรมนูญไม่ให้ใครทำรัฐประหาร และรับรองสิทธิต่อต้านรัฐประหารแล้ว ครั้นถึงเวลาที่รัฐถูกบ่อนทำลายจนเสื่อมอำนาจหรือเงื่อนไขการรัฐประหารสุกงอมก็ย่อมเกิดการรัฐประหารอยู่นั่นเอง
ทางเดียวที่จะระงับการรัฐประหารไว้ได้ก็คือ ประชาชนหรือผู้ต่อต้านรัฐประหารต้องจัดตั้งกันให้มีอำนาจทางข้อเท็จจริงทางการเมืองถึงขนาดกุมอำนาจรัฐและความชอบธรรมตามข้อเท็จจริงไว้ให้ได้โดยตลอดเท่านั้น การอ้างความชอบธรรมทางกฎหมายเป็นเกราะป้องกันรัฐประหารโดยปราศจากการเสริมสร้างความชอบธรรมทางข้อเท็จจริงที่เข้มแข็ง หรือการปล่อยให้ความชอบธรรมตามข้อเท็จจริงถูกบ่อนทำลายลงด้วยการยอมรับการโกงการเลือกตั้ง ยอมรับการใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยไร้ขอบเขต ไม่ต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่ดำเนินไปอย่างโจ่งแจ้ง ต่อให้มีการประกาศต่อต้านรัฐประหารซ้ำ ๆ อีกกี่ครั้ง หรือตราไว้ในรัฐธรรมนูญกี่มาตราก็ย่อมไม่อาจต้านการรัฐประหารได้เลย
ในข้อนี้ไม่ว่าอาจารย์เกษียร อาจารย์วรเจตน์ หรืออาจารย์ทั้งหลายที่เคยร่วมกันต่อสู้เพื่อรักษาความถูกต้องในบ้านเมืองให้ดำรงอยู่ได้ตามความเป็นจริง ล้วนแต่เห็นพ้องต้องกัน
หากจะกล่าวในแง่การล้มล้างผลพวงของการรัฐประหาร ผมก็เห็นว่าการประกาศให้การกระทำของคณะรัฐประหารเสียเปล่า และถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลทางกฎหมายใด ๆ เลยแบบเป็นการทั่วไปนั้น ฟังเผิน ๆ แม้จะดูดี
แต่ถ้าคิดลงไปในรายละเอียดแล้วก็ยากจะเห็นด้วย เพราะจะเกิดข้อยุ่งยากทางกฎหมายและทางปฏิบัติตามมายืดยาว กลายเป็นปัญหาพอกพูน ทบรวมเข้าไปกับปัญหาที่มีอยู่แล้วจากการรัฐประหารการล้มล้างผลพวงในเรื่องหนึ่งก็จะกลับกลายเป็นปัญหาให้ต้องสะสางยืดยาวตามมาอีกจนยากจะคาดเห็นล่วงหน้าได้หมด
ในเยอรมันเคยมีการถกเถียงเรื่องนี้กันแต่เถียงกันตั้งแต่ต้นศตวรรษที่แล้ว ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าอำนาจที่ได้มาโดยการรัฐประหารนั้น แม้จะเป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยมิชอบแต่ก็ไม่อาจเป็นเหตุปฏิเสธสถานะความเป็นรัฐของอำนาจการปกครองที่ตี้งขึ้นใหม่ได้แม้รัฐที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ต่อมาจะถูกล้มล้างไปโดยอำนาจที่ใหม่กว่าในภายหลังก็ไม่อาจปฏิเสธว่าการเข้ายึดอำนาจรัฐที่มีมาก่อนตกเป็นโมฆะหรือเสียเปล่าไปและรัฐที่ตั้งขึ้นภายหลังก็ยังคงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของรัฐก่อนหน้านั้นที่ยังส่งผลกระทบต่อผู้คนต่อมาไม่ว่าการกระทำของรัฐนั้นจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม
ความรับผิดชอบของรัฐต่อการกระทำของรัฐเดิมที่รัฐใหม่เข้าสืบอำนาจและสืบสิทธิต่อมานั้นมีความสำคัญทั้งในแง่กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายใน เช่น ถ้าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันที่เกิดขึ้นใหม่หลังสงครามโลกประกาศว่ารัฐฮิตเล่อร์เป็นรัฐเผด็จการ ตั้งขึ้นโดยขัดต่อรากฐานทางกฎหมายและความยุติธรรม ขัดต่อความต้องการอันแท้จริงของชนชาติเยอรมันการกระทำของฮิตเล่อร์ให้ตกเป็นโมฆะ และเสียเปล่าไปทั้งหมดนั้นก็จะเกิดปัญหาความรับผิดของรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงการปกครองของฮิตเล่อร์ทันทีว่าจะตกติดมายังสหพันธสาธารณรัฐเยอรมันที่ตั้งขึ้นใหม่หรือไม่อย่างไร?
โชคดีที่เยอรมันตะวันตกหรือสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตกลงใจยอมรับผลทางกฎหมายของการกระทำของฮิตเล่อร์เป็นเหตุให้ต้องชดใช้ความเสียหายแก่ชนชาวยิวและผู้ตกเป็นเหยี่อเผด็จการมาจนทุกวันนี้ ความข้อนี้แตกต่างจากเยอรมันตะวันออกหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันซึ่งปัดความรับผิดชอบและความต่อเนื่องกับรัฐเผด็จการของฮิตเล่อร์ทุกประการ และยืนยันว่าตนเป็นรัฐที่ต่อต้านฮิตเล่อร์และไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของฮิตเล่อร์
หากฝ่ายเยอรมันตะวันตกหรือที่เรียกว่าฝ่ายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันปฏิเสธความสืบเนื่องและความรับผิดชอบทางกฎหมาย โดยอ้างว่าการกระทำของฮิตเล่อร์ไม่มีผลมาแต่ต้นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในแง่ความผูกพันและสิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้นและเป็นผลจากการกระทำของฮิตเล่อร์ตามกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเป็นปัญหาพวงที่หนึ่งแล้วยังมีปัญหาในแง่ความรับผิดชอบต่อการกระทำต่าง ๆ ตามกฎหมายภายในทั้งในทางที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ประชาชนที่อยู่ใต้อำนาจรัฐอีกพวงหนึ่ง
กล่าวคือถ้าจะเยียวยาความเสียหายแก่พวกที่ตกเป็นเหยื่อแล้วสำหรับผู้ที่ได้ประโยชน์จากการกระทำของรัฐบาลฮิตเล่อร์จะต้องกลับสู่ฐานะเดิมอย่างไร?จะยึดทรัพย์สิน หรือเรียกให้พวกที่ได้รับประโยชน์จากรัฐบาลฮิตเล่อร์คืนประโยชน์ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือทรัพย์สินให้แก่เหยื่อ หรือแก่รัฐที่เกิดใหม่ด้วยหรือไม่ อย่างไร? ภายใต้กฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขอะไร?
นอกจากนั้นยังมีปัญหาพวงที่สามคือการจัดความสัมพันธ์ภายในกลไกของรัฐเอง ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งรวมไปถึงการจัดตั้งองค์กร และการจ่ายเงินเดือนรวมไปถึงการใช้อำนาจของบุคคลเหล่านั้นในทางให้คุณหรือให้โทษแก่บุคคลผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ยืดยาวซึ่งเป็นผลพวงจากรัฐที่ผู้มาทีหลังอ้างว่า เป็นโมฆะ ไม่เคยเกิดขึ้น และไม่เคยมีผลเลยแล้วใครจะขจัดปัญหาอันเป็นผลพวงที่ปฏิเสธไม่ได้เหล่านี้?
ปัญหาเหล่านี้ หากนำมาเทียบกับปัญหาอันจะเกิดจากการลบล้างผลพวงการรัฐประหารแบบเป็นการทั่วไปหรือเหวี่ยงแหไปทั้งหมดตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ เราก็จะต้องเผชิญกับข้อยุ่งยากจากปัญหาหลายพวงที่จะตามมาข้างต้นและที่ยังคิดไปไม่ถึงอีกมาก ปัญหายุ่งยาก ซับซ้อนเช่นนี้ ต้องวิเคราะห์ต้องชั่งน้ำหนักประโยชน์ได้เสียกันอย่างละเอียด และเป็นการยากมากที่จะชำระสะสางปัญหาความเสียเปล่าและการกลับคืนสู่สถานะเดิมของผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากนี้ได้
ดังนั้นก่อนที่จะทำเช่นนี้ เราต้องมาพิเคราะห์ร่วมกันให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าควรจะทำหรือไม่เพียงใด? ในแง่นี้ข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม